athena แหล่งความรู้athena แหล่งความรู้
  • Home
  • Boost Up!
    • Vibes
    • Hype
  • Bizz
  • Geek

Subscribe to Updates

Get the latest creative news from FooBar about art, design and business.

What's Hot

เปลี่ยนชีวิตประจำวัน ลดโลกร้อน เพื่อโลก.. เพื่อคุณ.. เพื่อคนรัก

19/03/2023

สร้าง “ทีมเวิร์ค” อย่างไรให้ทรงพลัง เพิ่มศักยภาพการทำงานระดับ SSS

07/03/2023

“แข่งกับตัวเอง” วิธี พัฒนาตนเอง ..ที่ทำให้คุณคนเดียวก็พิชิตเอเวอร์เรสได้

01/03/2023
Facebook Instagram YouTube
  • Courses
  • Review
  • Home
  • Boost Up!
    1. Vibes
    2. Hype
    3. View All

    สร้าง “ทีมเวิร์ค” อย่างไรให้ทรงพลัง เพิ่มศักยภาพการทำงานระดับ SSS

    07/03/2023

    4 สูตรสำเร็จ Work Life Balance เลือกใช้ให้เหมาะปรับใช้ให้เเมชกับคุณ

    31/01/2023

    ตัวไม่ตึง ชีวิตไม่ปัง.. “ลองปรับวิถีชีวิต” คิดบวก ให้มากขึ้น

    09/01/2023

    Jump Your Day ! เมนูอาหารเช้า ง่าย ๆ ลุยงานได้ทั้งวัน

    22/12/2022

    เปลี่ยนชีวิตประจำวัน ลดโลกร้อน เพื่อโลก.. เพื่อคุณ.. เพื่อคนรัก

    19/03/2023

    “แข่งกับตัวเอง” วิธี พัฒนาตนเอง ..ที่ทำให้คุณคนเดียวก็พิชิตเอเวอร์เรสได้

    01/03/2023

    รู้ทันและรับมือ “ทรอม่า” บาดแผลทางใจในวัยเด็ก ที่อาจส่งผลตอนโต

    18/02/2023

    รักษา “ความรัก” อย่างไรให้ยืนยาว เดินเคียงข้างกันไปทุกช่วงวัย

    13/02/2023

    เปลี่ยนชีวิตประจำวัน ลดโลกร้อน เพื่อโลก.. เพื่อคุณ.. เพื่อคนรัก

    19/03/2023

    สร้าง “ทีมเวิร์ค” อย่างไรให้ทรงพลัง เพิ่มศักยภาพการทำงานระดับ SSS

    07/03/2023

    “แข่งกับตัวเอง” วิธี พัฒนาตนเอง ..ที่ทำให้คุณคนเดียวก็พิชิตเอเวอร์เรสได้

    01/03/2023

    รู้ทันและรับมือ “ทรอม่า” บาดแผลทางใจในวัยเด็ก ที่อาจส่งผลตอนโต

    18/02/2023
  • Bizz
  • Geek
athena แหล่งความรู้athena แหล่งความรู้
เป็นเพื่อนกันเถอะ
by
อบรมดอทคอม
athena แหล่งความรู้athena แหล่งความรู้
Home » มัดใจลูกค้าง่าย ๆ เพียงรู้จักใช้กลยุทธ์ Music Marketing ให้ถูกจังหวะ 
Music Marketing
Bizz

มัดใจลูกค้าง่าย ๆ เพียงรู้จักใช้กลยุทธ์ Music Marketing ให้ถูกจังหวะ 

26/01/20232 Mins Read
แชร์ให้เพื่อน
Facebook Twitter LinkedIn

เคยสงสัยกันไหมว่า.. ทำไมรถเข็นไอศกรีมถึงใช้เสียงกระดิ่งดังกรุ่งกริ่งทุกครั้งเมื่อต้องตามบ้านใครต่อใครในยามเย็น และเคยรู้สึกประหลาดใจบ้างไหมว่าทำไมเสียงเพลงในร้านอาหารหรือคาเฟ่ถึงมีอำนาจดึงดูดให้ลูกค้านั่งอยู่กับที่แม้จะกินอาหารเสร็จแล้วก็ตาม คนออกกำลังกายในฟิตเนสเสมือนถูกแรงกระตุ้นจากเสียงเพลงเร้าใจให้มีพลัง หรือหากคุณเป็นหนึ่งในหลายแสนล้านคนบนโลกที่พรั้งเผลอด่วนซื้อของโดยไม่สนราคาแสนแพงของสินค้าชิ้นนั้น บางทีคุณอาจตกอยู่ภายใต้อำนาจสะกดของเสียงเพลงเสียแล้ว Music Marketing เป็นกลยุทธ์การตลาดที่หลายธุรกิจหยิบใช้แล้วได้ผลมานาน กระทั่งโซเชียลมีเดียเข้ามาในชีวิตเราแบบเต็มตัว เมื่อนั้นเองที่จังหวะสะกดใจคนฟังเริ่มเปลี่ยนไป..

Music Marketing หากแค่เพียงการใช้เมโลดี้อันไพเราะร่วมคำร้องที่กังวาลก้องร้าน ไม่อาจช่วยให้คุณเข้าใจวิธีใช้มันได้ดียิ่งขึ้น แน่นอนว่าหากคิดจะใช้เสียงเพลง เราก็ต้องฟังเสียงของความเงียบให้เป็น แต่ก่อนจะไปถึงจุดนั้น หลายคนคงพิศวงกับเจ้ากลยุทธ์เสียงเพลงนี้พอสมควร งั้นเรามารู้จักและเจาะลึกถึงเจ้าสิ่งนี้ไปพร้อมกัน

Music Marketing
Image by Kireyonok_Yuliya on Freepik

Music Marketing คืออะไร

Music Marketing เป็นกลยุทธ์การตลาดที่ใช้ ‘เสียงเพลง’ เป็นเครื่องมือหลักสำหรับดึงดูด จูงใจและเสริมแรงพฤติกรรมผู้บริโภคให้เป็นไปตามที่ธุรกิจนั้นต้องการ ซึ่งตามกระบวนการรับรู้เสียงเพลงของสมองมนุษย์ เพลงมีบทบาทสำคัญคอยกระตุ้นสมองส่วนระบบเสริมแรงและให้รางวัล (Reward System) ซึ่งมีสารสื่อประสาทแห่งความสุขที่ชื่อ ‘โดปามีน’ (Dopamine) เป็นตัวเดินหลักของเกม แน่นอนว่าด่านแรกเมื่อคนได้ยินเพลงเพราะจะรู้สึกเป็นสุขสบายกาย ขณะเดียวกันก็เป็นตัวเสริมแรง (Reinforcement) กระตุ้นความอยากให้ผู้นั้นทำพฤติกรรมบางอย่างเพื่อเพิ่มความสุขให้พุ่งทะยานสูงปรี๊ดถึงระดับที่เรียกว่า Euphoria (เดี๋ยวเราจะพูดถึง ตัวเสริมแรง กันต่อในหัวข้อถัดไป) โดยกลยุทธ์นี้มีจุดมุ่งหมายด้านการตลาดดังต่อไปนี้

Euphoria เป็นภาวะความสุขสมหวังจนรู้สึกโล่งอกเบาหวิวและลืมตัวไปชั่วขณะ ซึ่งคล้ายกับอาการคนเคลิบเคลิ้มเวลาเสพสารเสพติด ภะเว้อภวังค์ในรัก หรือการถึงจุดไคล์แม็กซ์ระหว่างมีเพศสัมพันธ์ ที่หลายคนเรียกติดปากว่า 'ฟิน'

1. Branding

ใช้เป็นตัวร่วม (Factor) สำหรับสร้างเสริมตัวตนของแบรนด์ให้เด่นชัดขึ้น มีสไตล์เอกลักษณ์ น่าดึงดูดให้เข้ามาใช้บริการทั้งนี้ข้อมูลสำรวจจาก Brand Channel และ HUI Research พบว่ากว่า 96% ของแบรนด์ที่ใช้เพลงที่เข้ากับสไตล์ของแบรนด์ช่วยให้ผู้คนจดจำแบรนด์ได้ง่ายขึ้น รวมถึงผลักดันยอดขายเพิ่มขึ้นถึง 9% ตัวอย่างที่ทุกคนคุ้นเคยดีอย่างคือ รถไอศกรีมวอลกับเสียงเพลงที่ได้ยินทุกครั้งก็นึกถึงความสุขและความสดชื่น

2. Promoting

ใช้เพลงเป็นตัวเร่ง (Catalyst) พฤติกรรมลูกค้าให้ซื้อหรือใช้บริการในร้านมากขึ้น จะพบมากในกรณีของร้านอาหารและคาเฟ่ คุณคงทราบดีหากเคยเข้าร้านสตาร์บัคและมักจะได้ยินเพลย์ลิสต์ที่ให้ความรู้สึกชิลและผ่อนคลาย ชวนให้นั่งตัวลอยอยู่ในร้านได้ทั้งวัน

3. Loyalizing

สร้างความภักดีหรือความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นและคงทนระหว่างแบรนด์กับกลุ่มลูกค้า ลูกค้าจะภูมิใจและรู้สึกพิเศษกว่าใครในทุก ๆ ครั้งเมื่อเข้ามาในร้านหรือใช้บริการ เช่น เสียงเพลงบรรเลงคลอเบา ๆ ในสปา ให้คุณรู้สึกพิเศษกว่าใครเมื่อเข้าใช้บริการนวดของแบรนด์ดังอย่างปันปุริ

Don’t Forget !!! อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ควรคิดก่อนเลือกเพลงเพื่อดันการตลาด ก็คือเรื่องของบุคลิกภาพแบรนด์ (Brand Personality) หากเราเข้าใจตัวเองว่าเราคือใคร บางทีคุณอาจเป็นร้านชาบูสุดชิวสไตล์ญี่ปุ่น ร้านอาหาร Casual Dining สัญชาติอเมริกัน ร้านกิฟต์ช็อปราคาถูก ฟิตเนสนักกล้ามสุดเฮฟวี่ ซึ่งล้วนแล้วใช้เป็นตัวกำหนดเพลย์ลิสต์ที่คุณจะเลือกใช้ทั้งสิ้น จากการสำรวจบอกว่าหากเลือกเพลงไม่สอดรับกับประเภทธุรกิจของคุณจะส่งผลให้ยอดขายลดลงถึง 4%

ค้นหาตัวตน ปั้นแบรนด์ให้โดดเด่น เพียงเข้าใจ Brand Archetypes
Music Marketing
Image by wirestock on Freepik

ผนวกเข้ากับ “สิ่งเสริมแรง” ตัวช่วยด้านพฤติกรรมนิยม

เมื่อคุณได้เพลย์ลิสต์ที่เหมาะกับแบรนด์ของคุณแล้วละก็.. สิ่งสำคัญและเป็นเทคนิคที่อยากนำเสนอคือ คุณต้องไม่ลืม สิ่งเสริมแรง หรือ Reinforcement และรู้จักใช้ตัวเสริมแรงให้เป็นประโยชน์ บ่อยครั้งที่การเสริมแรงถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลายในแวดวงการศึกษาและจิตวิทยาการทดลอง ทว่ามีคนไม่มากที่ล่วงรู้วิธีประยุกต์ใช้ทฤษฎีเสริมแรงในงานการตลาด ครั้งนี้คงไม่พลาดหากจะกล่าวถึง บี.เอฟ. สกินเนอร์ (Burrhus Frederic Skinner) นักจิตวิทยาแนว Behaviorism กับวิธีใช้ทฤษฎีที่เจ้าตัวคิดค้น โดยมาจากการนำหนูทดลองมาขังในกล่องห้องกล แล้วใช้สารพัดวิธีจูงใจให้หนูทำพฤติกรรมบางอย่าง เช่น กดคันโยก และทุกครั้งที่มันกดคันโยก ก็จะได้ ‘รางวัล’ เป็นสิ่งตอบแทน เขาทดลองให้รางวัลกับหนูทดลองหลากหลายวิธี ทั้งแบบแน่นอน (ให้รางวัลทุกครั้งเมื่อทำพฤติกรรมบางอย่าง) และแบบครั้งคราว ซึ่งแยกย่อย ซึ่งแบ่งเงื่อนไขการเสริมแรงออกเป็น 4 วิธี ได้แก่

1. สัดส่วนแน่นอน

เป็นวิธีเสริมแรงด้วยการให้ ‘สิ่งตอบแทน’ ในทุกครั้งที่แสดงพฤติกรรมที่เหมาะสมตามที่เราต้องการ เช่น การชื่นชมลูกค้าทุกครั้งเมื่อลองเสื้อเพื่อ Cheer-up จนปิดการขายได้ การซื้อ 1 แถม 1 ในสินค้าใด ๆ ในทุกครั้งที่ลูกค้ามาเยือน การซื้อสะสมครบ 10 ชิ้น จะได้สิทธิพิเศษ ทว่าพฤติกรรมเหล่านี้จะไม่คงทนและสม่ำเสมอ ลูกค้าอาจไม่รู้สึกฟินเท่าเดิมและยอมแพ้ระหว่างทางที่ไปถึงจุดหมาย (เนื่องด้วยมนุษย์ต่างชอบความท้าทาย)

2. สัดส่วนไม่แน่นอน

เช่น การแข่งขันเขียนคำขวัญชนะเลิศจนได้รางวัล การโต้วาทีจนได้รับคำชม เพราะวัดจำนวนไม่ได้แน่นอน อีกทั้งอาศัยปัจจัยแทรกซ้อนอื่นที่ไม่สามารถนับเป็นจำนวนได้ เช่น ความพอใจของคณะกรรมการ ระดับความสวย

3. แบบเวลาที่แน่นอน

เป็นวิธีเสริมแรงที่เน้นเงื่อนไขประกอบ เช่น ระยะเวลา จำนวนแต้มสะสม จำนวนความถี่ เปอร์เซ็นต์ความคืบหน้าของชิ้นงาน ระดับขั้น โดยมากขึ้นอยู่กับประเภท ‘สัดส่วน’ และ ‘เวลา’ ที่เลือกใช้ จะเป็นเงื่อนไขแบบแน่นอนหรือไม่แน่นอนก็ได้ เพื่อเสริมแรงพฤติกรรมให้คงทน เช่น ได้กาแฟฟรีหนึ่งแก้วเมื่อเก็บอมยิ้มครบ 10 แต้ม การนอนครบ 7 ชั่วโมงเพื่อแลกคูปองลดหย่อนราคาสินค้าในศูนย์อาหาร 25% การลุ้นตอบคำถามหรือคิดสโลแกนสุดโดนเพื่อลุ้นรับโชคใหญ่ จองห้องคาราโอเกะมากกว่า 1 ชั่วโมง ฟรีเครื่องดื่ม เป็นต้น

4. แบบเวลาที่ไม่แน่นอน

เช่น ลูกน้องทำงานดีมาตลอด 10 ปี หัวหน้าถึงเพิ่งกล่าวคำชม

แน่นอนว่าหลังจากสกินเนอร์ทดลองแล้วเสร็จก็พบว่า วิธีการเสริมแรงที่ให้ผลดีที่สุด คือการเสริมแรงตาม สัดส่วนไม่แน่นอน (Variable-Ratio) เพราะจะก่อผลดีต่อการแสดงออกของพฤติกรรมที่สูงมาก ให้นึกภาพง่าย ๆ อย่างที่ได้ยกตัวอย่างไปว่าหากคุณกำลังเป็นผู้เข้าประกวดโต้วาที ซึ่งไม่ขึ้นอยู่กับเวลาและจำนวน แต่เป็นความสมเหตุสมผลของความเห็นที่มีน้ำหนักพอจะชักจูงคนฟังให้เชื่อตามดูสิ นั่นล่ะที่ทำให้ต่างฝ่ายต่างคิดหาเหตุผลที่ดีที่สุดมาตอบโต้กันสุดความสามารถกับรางวัลและชื่อเสียงที่คู่ควรได้

Music Marketing
Image by Freepik

แต่หากใช้ “ตัวเสริมแรง” ดังกล่าวกับกรณีของ Music Marketing ล่ะจะให้ผลเช่นไร ? คำตอบคือสิ่งเหล่านี้สามารถนำมาใช้กับ Music Marketing ในเรื่อง การควบคุมสัดส่วนจังหวะเสียงต่าง ๆ ในเพลง ความเร็ว ความดัง (เดซิเบล) สถานที่ เมื่อลูกค้าแต่ละคนนั่งจุดที่ต่างกันภายในร้าน ย่อมส่งผลต่อคุณภาพของเสียง ดังทฤษฎีดนตรีว่าไว้.. เสียงเดินทางผ่านอากาศจะเกิดการตกกระทบวัตถุ หากวัสดุในร้านไม่ได้ออกแบบมาอย่างประณีตพอ จะเกิดเสียงสะท้อน และแน่นอนว่า เสียง คือ คลื่นเชิงกล เวลามันเดินทางเข้าไปในโสตประสาท ย่อมส่งผลต่อคลื่นสมองของมนุษย์ในระดับต่าง ๆ เช่น อัลฟ่า เบต้า ธีตา ซึ่งมีผลให้สมองหลั่งสารสื่อประสาท (Neurotransmitter) หลั่งไหลจนแผ่ซ่านไปทั่วร่าง จนส่งทอดมาถึงพฤติกรรมที่ปรากฏ เช่น หิว ความอยาก จนบางทีสิ่งที่เสียงกำลังชักจูงให้เราอยาก คงเป็นสิ่งที่นอกเหนือเกินกว่าสติสัมปชัญญะเราจะไปถึงก็เป็นได้ ในแง่หนึ่งเราเสียงที่ลอดเข้าสู่หูยังเกี่ยวข้องกับการแปรเปลี่ยนระดับความถี่คลื่นสมอง (Hz) ของมนุษย์ให้เกิดพฤติกรรมและความรู้สึกบางอย่าง เพียงอาศัยสัดส่วนและความถี่ของจังหวะและเนื้อร้องให้ทำงานสอดประสานกันอย่างลงตัว จนเกิด ‘ดนตรีสะกดจิต’ ที่ล้วนชักใยการกระทำของผู้คนให้เป็นไปตามฮอร์โมนที่หลั่งพร่านในร่างกาย 

บทสรุปการนำไปใช้

การใช้เพลงเป็นสิ่งเสริมแรงเป็นทางเลือกที่ดีหากต้องการกระตุ้นยอดขาย หรือขับเน้นตัวตนของแบรนด์ให้โดดเด่นไปด้วยกันกับ CI (Corporate Identity) ตัวอื่น ดังกรณีศึกษาของประเทศสวีเดนที่หยิบยกประเด็นเรื่อง ‘ระดับเสียง’ ของเพลงในร้านอาหารมาศึกษาทดลอง จนพบว่าหากเปิดเสียงเพลงเบาในระดับ 55 เดซิเบล ลูกค้าจะสั่งอาหารรักสุขภาพ ทว่าหากเลื่อนระดับเสียงขึ้นถึง 70 เดซิเบลจะแปรเปลี่ยนให้ลูกค้าเลือกสั่งเมนูอาหารแบบทุ่มคุ้มสุดตัวทว่ามีโภชนาการต่ำกว่า และยิ่งจังหวะเพลงเร็วเท่าไหร่ อัตรา Turnover Rate ถึง 30% จะยิ่งกระตุ้นให้คนกินอาหารเร็วขึ้น ซึ่งคงจะดีมากให้เราใช้เสียงเหล่านั้นร่วมกับองค์ประกอบอื่นของร้าน เช่น การมองทิศทางการไหลของเสียง การแบ่งโซนความดังเบาของเสียง (มีผลต่อการอัพเซลล์เมนูแต่ละแบบ) สัดส่วนสีแสงโทนร้อนเย็น และในท้ายที่สุดที่คุณไม่ควรลืมก็คือ ทุกครั้งที่คุณใช้เพลง นั่นคือ ‘การเสริมแรง’ และเสียงเงียบสำหรับเว้นจังหวะ ก็คือการลดความเข้มข้นซึ่งส่งผลต่อพฤติกรรมนั้นตามไปด้วย

Cover Image : Image by tirachardz on Freepik

Credits :

  • https://www.inc.com/arianna-odell/heres-how-brands-can-harness-power-of-music-to-create-new-customer-experiences.html
  • https://www.creativethailand.org/view/article-read?article_id=33702&lang=th
  • https://thestandard.co/restaurant-music-explained
  • https://idealogicbrandlab.com/the-psychology-of-music-consumer-behavior

คอร์สอบรมแนะนำจาก อบรมดอทคอม

การบริหารการจัดการ กลยุทธ์ธุรกิจ

“การบริหารการจัดการ กลยุทธ์ธุรกิจ”

งานบุคคล HR การทำงาน

“บริหารทรัพยากรบุคคล HR การทำงาน ข้อมูลส่วนบุคคล PDPA”

เทคโนโลยี

“เทคโนโลยี”

คอร์สออนไลน์

“รวมคอร์สอบรมออนไลน์”

Music Marketing Music Marketing คือ กลยุทธ์การตลาด กลยุทธ์การตลาดด้วยเสียงเพลง กลยุทธ์ธุรกิจ การบริหารการจัดการ กลยุทธ์ธุรกิจ จัดซื้อ การตลาด การขาย บริการ จิตวิทยาการตลาด ทำธุรกิจ มัดใจลูกค้า

Related Posts

แนะนำแอปพลิเคชัน Digital Signature ลายเซ็นอิเล็กทรอนิกส์ ที่ช่วยเพิ่มความปลอดภัยให้ทุกธุรกิจ

2 Mins Read

“Content is King” แนะนำทำ Content Marketing ให้โลกจำ

2 Mins Read

ขายได้ขายดี ตรงใจลูกค้า ใช้ “Personalized marketing” ตอบโจทย์ธุรกิจ

3 Mins Read

เทรนด์ Digital Marketing ปี 2023 ที่ธุรกิจไม่ควรพลาด

2 Mins Read

ค้นหาตัวตน ปั้นแบรนด์ให้โดดเด่น เพียงเข้าใจ Brand Archetypes

4 Mins Read

เช่าดีหรือซื้อเลย ? ทบทวนก่อนตัดสินใจ ซื้อบ้าน

2 Mins Read

แอด LINE Id : @aobrom

อัปเดต *ความรู้ใหม่* ข่าวคอร์สอบรม สอนทำธุรกิจ พัฒนาตนเอง ทักษะไอที by อบรมดอทคอม

เพิ่มเพื่อน
คนละ 1 LIKE *เป็นกำลังใจให้เรา*
อบรมดอทคอม
ความรู้ใหม่ ๆ ไม่ควรพลาด
Hype

เปลี่ยนชีวิตประจำวัน ลดโลกร้อน เพื่อโลก.. เพื่อคุณ.. เพื่อคนรัก

19/03/2023
Vibes

สร้าง “ทีมเวิร์ค” อย่างไรให้ทรงพลัง เพิ่มศักยภาพการทำงานระดับ SSS

07/03/2023
Hype

“แข่งกับตัวเอง” วิธี พัฒนาตนเอง ..ที่ทำให้คุณคนเดียวก็พิชิตเอเวอร์เรสได้

01/03/2023
Hype

รู้ทันและรับมือ “ทรอม่า” บาดแผลทางใจในวัยเด็ก ที่อาจส่งผลตอนโต

18/02/2023
Hype

รักษา “ความรัก” อย่างไรให้ยืนยาว เดินเคียงข้างกันไปทุกช่วงวัย

13/02/2023
ติดตาม athena จาก social อื่น ๆ
  • Facebook
  • Instagram
  • YouTube
athena แหล่งความรู้
Facebook Instagram YouTube
  • Home
  • Vibes
  • Hype
  • Bizz
  • Geek
© 2023 อบรมดอทคอม. Crafted by Heart.

Type above and press Enter to search. Press Esc to cancel.